วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ผ้าไหมไทย



ประวัติผู้จัดทำ


ประวัติส่วนตัว



  

                                             
ชื่อ  ปวันรัตน์    โสละวัฒน์
   
ชื่อเล่น    แนน   อายุ 20 ปี

ภูมิลำเนาเดิม กรุงเทพมหานคร                                                                

ช่องทางการติดต่อ  e-mail    love_nanb@hotmail.com 
                                                                                                   
ประวัติการศึกษา ประถมศึกษา    โรงเรียนพิทยนันท์ศึกษา                                                       

มัธยมศึกษา      โรงเรียน ทีปังกรวิทยาพัฒน์ ฯ                                                                                  

ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่    มหาวิทยาลัยรังสิต

งานอดิเรกที่ทำอยู่   ฟังเพลง ดูทีวี  อ่านหนังสือ                                                 

หนังหรือดาราที่ชอบ  ภาพยนตร์เรื่องคิดถึงวิทยา       

กีฬาที่ชอบเล่น  แบตมินตัน

กิจกรรมหรือผลงานที่เข้าร่วมสมัยเรียน  - ประถมศึกษาที่ 3ได้เข้าอบรมโครงการอาสานำเที่ยว  ณ  วิทยาาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี         

-    (รางวัลพิเศษ)   การประกวดทำบัตรอวยพรในวันคริสต์มาส                                           

-  มัธยมศึกษาที่6  เข้าร่วมการประกวด จัดป้ายนิทรรศการ ภาษาจีน   ณ โรงเรียนนวมินทราชืนูทิศหอวัง นนท์ธบุรี                    
   





สรุปเนื้อหาหนังสือ



กว่าจะมาเป็นผ้าไหม
                     เริ่มมาจากตัวหนอนโดยจะใช้หนอนแต่ละสายพันธุ์เช่น พันธุ์ไทยให้สีเหลือง  พันธุ์ต่างประเทศให้สีขาว ส่วนพันธุ์ผสมให้ทั้งสองสีเพื่อที่จะได้สีเส้นใยที่ต่างกัน ตัวที่บ่งบอกได้ว่าหนอนไหมตัวนั้นจะชักใยสีเหลืองหรือขาวก็คือสีที่ขาของหนอนไหมตัวนั้น พอผ่านกระบวนการเลี้ยงตัวหนอนไหมแล้วก็จะเอาเส้นไหมนั้นมาทำการสาว หรือเรียกกันว่า " การสาวไหม"   
ส่วนการสาวไหมน้อยจะใช้เส้นไหมที่มีขนาดเล็กจะมีสีจางกว่าเส้นไหมใหญ่เป็นการสาวไหมที่อยู่ชั้นในแต่ถ้าไม่ต้องการสาวต่อก็ตัดรังไหมนั้นออก  เพื่อที่จะได้นำเก็บไว้สาวครั้งต่อไป ในการย้อมสี ถ้าจะทำให้ผ้าไหมออกมาสวยงามจะต้องใช้สีที่ทำมาจากธรรมชาติ เช่น แก่นขนุนและไม้เขให้สีเหลือง ไม้ฝางและครั่งให้สีแดง ใบหูกวางให้สีเขียว กาบมะพร้าวให้สีเทา 

                      ในการผลิตผ้านั้นจะจะมี 3 อย่าง คือ ผ้าอัด  ผ้าไม่ทอ  ผ้าอัดด้วยเข็ม เช่น การอัดผ้าขนสัตว์  ส่วนประโยชน์คือใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น กางเกง            

ผ้าไทยผูกพันกับวิถีของคนไทยมานาน ทั้งแสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่และฐานะของผู้สวมใส่ เช่น ผ้ากับความเชื่อและพิธีกรรม เช่น ในพิธีบวชคนไทยส่วนมากนับถือพุทธมักจะให้บุตรหลานได้บวชเรียนดังนั้นพิธีกรรมในการบวชตั้งแต่การเป็นนาคสมัยก่อนมารดาจะเป็นผู้ทอผ้าขาวให้นาคได้สวมใส่  พิธีแต่งงาน เข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น






                                            คลิปสัมภาษณ์







                                            อาจารย์ จรัญ สร้อยทอง อายุ53ปี อาจารย์สอนทอผ้าไหม


 ผ้าจะนิยมทำแบบลายพื้นเมืองส่วนใหญ่จะทำเป็นลายพื้นเมือง ลายดั่งเดิมแต่ก็จะมีการดัดแปลงบ้าง ระยะในการทอไหมสองกิโลกรัมใช้เวลาประมาณ3-4เดือนเพราะต้องทำเองทุกขั้นตอน ผ้าไหมมีจุดเด่นตรงที่ใช้ง่ายและนุ่มนวลและใส่สบาย ไม่ร้อนเป็นความนิยมความงานพื้นบ้าน เวลาดูผ้าไหมที่คุณภาพดีไม่ดีต้องดูที่เนื้องานที่เขามัด ถ้าซื้อผ้าลายต้องดูว่ามัดลายตรงไหม เสมอไหม  ให้สีสวยไหม สีเสมอเท่ากันหรือเปล่าแล้วก็ทอผ้าแน่นแค่ไหม ต้องดูสามอย่าง สี ลาย เนื้อผ้า การคิดลายส่วนใหญ่จะทำลายดั่งเดิม ที่มาจากพวกรูปสามเหลี่ยมสี่เหลี่ยมแล้วก็จะดัดแปลงเอาอย่างเช่น ลายดอกไม้ เป็นตัวหนังสือก็แล้วแต่เราจะดัดแปลง ผ้าไหมเป็นงานพื้นบ้านและงานดั่งเดิมของเราส่วนใหญ่ทุกคนจะหันมาใช้ผ้าไทยเพื่อที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้
   

คุณลักษณะของผ้าทอพื้นเมือง

       ที่มา  ลักษณะผ้าทอพื้นเมืองของไทยทุกประเภท ส่วนใหญ่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบที่สำคัญ ๒ ชนิดคือฝ้าย และไหม ในปัจจุบันจะมีการนำเทคนิคพิเศษ ตลอดจนการคิดค้นหาวัตถุดิบใหม่ๆ มาใช้ในการทอผ้าเช่นเส้นใยวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการจัดหาและการใช้ ดิ้นเงิน ดิ้นทอง เพื่อความงดงามแปลกตา และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ฝ้ายและไหมก็ยังคงจัดได้ว่าเป็นวัตถุดิบหลักที่มีความสำคัญที่สุดที่ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทอผ้า




                                                                                 
     
วิธีการเลี้ยงไหม


 ตัวไหม 
      เริ่มเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเป็นไข่เล็กๆ เท่าปลายเข็ม จนเติบโตเป็นตัวหนอน ไหมวัยอ่อน และวัยแก่ ตัวไหมเป็นตัวอ่อนของแมลงจำพวกผีเสื้อชนิดหนึ่งที่เมื่อถึงวัยจะผลิตใยไหมออกมาห่อหุ้มตัวเป็นรังไหมพันธุ์พื้นบ้านที่ชาวบ้านเลี้ยงกันอยู่เป็นเพันธุ์ไหมที่ฟักได้ตลอดปีเมื่อตัวหนอนเติบโตจะมีลักษระสีขาวนวลและเมื่อแก่ขึ้นจะมีสีเหลืองเพื่อทำรัง รังไหมจะเป็นสีเหลือง  


การเพาะเลี้ยงตัวไหม
      ไหมเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์แบบวงจรของชีวิตตัวไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ฟักเป็นตัวหนอนไหมในระยะเป็นตัวหนอนไหมจะลอกคราบ 4 ครั้ง พอหนอนไหมแก่เข้าก็จะชักใยทำรังหุ้มตัวเองแล้วตัวไหมจะลอกคราบเป็นดักแด้อยู่ในรังพอครบอายุดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อเจาะรังออกมาผสมพันธุ์กัน พร้อมทั้งวางไข่ฟักเป็นตัวหนอนต่อไป วนเวียนกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไป 
                

               
                                 
                                   


                                    กระบวนการทำให้เกิดสี



         การย้อมสีไหม อย่างแรกเตรียมเส้นไหมโดยการ ฟอกให้ขาว วิธีการฟอกไหมแบบพื้นเมืองของบ้านนั้นจะใช้ผักขม เหง้ากล้วย ใบกล้วย ก้านกล้วย งวงตาล ไม้ขี้เหล็ก ใบเพราะ ทั้งหมดนี้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ นำมาหั่นฝานให้บางตากแดดให้แห้งแล้วเอาไปเผาจนกระทั่งเป็นเถ้า จากนั้นจึงนำเถ้าไปแช่ในน้ำตากทิ้งไว้จนเถ้านอนก้นแล้วจึงเอาไหม ที่จะฟอกลงไปแช่ในน้ำด่าง พอไหมเปียกชุ่มดีแล้วก็เอาใส่หม้อต้มจนได้เวลาพอสมควรจากนั้นนำไหมขึ้นจากหม้อไปแช่น้ำเย็นล้างให้สะอาด สรงไหขึ้นจากน้ำ ใช้มือกระแทกให้ไหมหายยุ่งแล้วใส่ไหมลงในตะกร้า เขย่าให้แห้งหมาดแล้วจึงนำไปผึ่งแดดให้แห้ง หากไหมยังไม่สะอาดก็เอาไปแช่น้ำด่างตามวิธีเดิมอีกครั้ง แล้วนำไปย้อมเขก่อนนำไปย้อมให้เป็นสีต่างๆ   





                                   


การดูแลชุดผ้าไหม


     

วิธี การดูแลชุดผ้าไหม

 การซัก –การ รีดชุดผ้าไหม 
     นำผ้าไหมจุ่มในน้ำปกติผสมแชมพูสีระผม ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 นาที หลังจากนั้นขยี้ผ้าไหมเบาๆ แล้วล้างน้ำเปล่าให้สะอาด 
     นำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่มก่อนนำไปรีดด้วยความร้อนปานกลางและรีดจากด้านใน โดยก่อนรีดควรพ่นน้ำให้ทั่วแล้วม้วนใส่ในถุงผ้าขาวหรือถุงพลาสติกทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้ผ้ามีความชื้นสม่ำเสมอ

การเก็บเสื้อหรือชุดผ้าไหมไทย 
เสื้อหรือชุดผ้าไหมที่มีเส้นโลหะ ดิ้นเงินดิ้นทอง เนื่องจากโลหะ ดิ้นเงินดิ้นทองจะหักและเป็นสนิมได้ง่ายควรจะเก็บในลักษณะม้วนหลวมๆและกลับเอาด้านในไว้ด้านนอกแทนเพื่อป้องกันสีซีด สำหรับเสื้อไม่ควรกลับด้านเพราะจะทำให้ช่วงไหล่ยับ ควรสวมทับอีกชั้นด้วยถุงที่กันแสงได้และเปิดช่องระบายอากาศเล็กน้อยสำหรับประเทศร้อนชื้น 

ในกรณีที่เก็บแขวนในตู้ควรใช้ไม้แขวนเสื้อที่มีนวม และในกรณีของเสื้อหรือชุดที่มีแขนควรใช้ไม่แขวนเสื้อที่มีที่หนุนบ่าหรือนวมจะช่วยทำให้ไม่มีรอยของไม้แขวนเสื้อบริเวณไหล่  เอาพริกไทยบุบใส่ถุงหรือขวดแก้วเปิดฝา วางในตู้เพื่อให้กลิ่นไล่แมลง ไม่แนะนำให้ใช้ลูกเหม็นหรือการบูร เนื่องจากมีองค์ประกอบที่ไม่เหมาะสมกับผ้าไหม แต่ถ้ายังยืนยันที่จะใช้ให้แขวนไว้ในที่สูง

ผ้าไหมอ่อนไหวต่อแสงแดดและแสงไฟ จึงไม่ควรนำจัดแสดงอยู่ใต้แสงในระยะเวลานานๆ และควรตรวจสอบความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ




การทอผ้าไหม



การทอผ้าไหม

อย่างเช่นในการทอแบบ กี่กระตุก
 ที่ใช้สำหรับทอผ้าไหม ต้องมีความแข็งแรงได้มุมฉาก ไม่โอนเอนหรือโยกไปมา เพราะจะมีผลต่อเกรนของผ้าทอ ทำให้ยากต่อการนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า กี่กระตุกมีอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนกว่ากี่พื้นเมืองธรรมดา ผู้ผลิตจึงต้องใช้ความรู้ความชำนาญในการผลิตผ้าไหมให้ได้คุณภาพสูงสุด ปัจจุบันมีการใช้กี่กระตุก สำหรับทอผ้าไหม อีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถทอได้เร็วประมาณ 100-120 เส้นพุ่ง/นาที อีกทั้งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการลงทุนที่สูงนัก

อุปกรณ์ที่สำคัญ สำหรับการทอแบบกี่กระตุก คือ

      1.ตะกอ (Heald)

      2.กระสวย (Shuttle)
      
      3.ฟันหวี (Reed)


เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า

              การขิด เป็นกรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น 
                วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ

               การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วงๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสีเดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ซิ่นตีนจก”

การทอมัดหมี่ 
           ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่นจะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาดเคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็นอย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน





                                    

สรุป






กว่าที่จะมาเป็นผ้าไหมนั้นต้องผ่านกรรมวิธีหลายอย่างมากและละเอียดอ่อน ทั้งการเลี้ยงตัวไหมต้องดูแลอย่างดีเพื่อที่จะได้ใยของไหมที่สมบูรณ์มา ซึ่งต้องใช้เวลา พอได้ใยมาแล้วก็มาเริ่มการทอก็ต้องมีการคิดลายของผ้าไหม และก็ต้องมีระยะเวลาในการทอ และในการย้อมสีด้วย กว่าจะได้ผ้าผืนนึงไม่ใช่เรื่องง่าย เราคนไทยควรอนุรักษ์สมบัติของไทยไว้เพื่อที่จะได้ไม่หายไปไหน













สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผ้าไหมไทย โดย ปวันรัตน์ อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.