เริ่มมาจากตัวหนอนโดยจะใช้หนอนแต่ละสายพันธุ์เช่น พันธุ์ไทยให้สีเหลือง พันธุ์ต่างประเทศให้สีขาว ส่วนพันธุ์ผสมให้ทั้งสองสีเพื่อที่จะได้สีเส้นใยที่ต่างกัน ตัวที่บ่งบอกได้ว่าหนอนไหมตัวนั้นจะชักใยสีเหลืองหรือขาวก็คือสีที่ขาของหนอนไหมตัวนั้น พอผ่านกระบวนการเลี้ยงตัวหนอนไหมแล้วก็จะเอาเส้นไหมนั้นมาทำการสาว หรือเรียกกันว่า " การสาวไหม"
ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ต้องใช้ความชำนาญมาก การสาวไหมจะทำ2ครั้ง สาวครั้งแรกเป็นการสาวไหมใหญ่การสาวไหมที่อยู่ชั้นนอกๆ
เส้นไหมที่ได้จะเป็นเส้นใหญ่และมีสีเข้มเมื่อสาวจนเส้นไหมเริ่มมีสีจางจึงตัดเส้นไหม ส่วนการสาวไหมน้อยจะใช้เส้นไหมที่มีขนาดเล็กจะมีสีจางกว่าเส้นไหมใหญ่เป็นการสาวไหมที่อยู่ชั้นในแต่ถ้าไม่ต้องการสาวต่อก็ตัดรังไหมนั้นออกมาวางบนผ้าบางซึ่งจะวางอยู่บนทราย เพื่อให้ทรายดูดน้ำออก เพื่อที่จะได้นำเก็บไว้สาวครั้งต่อไป ขั้นตอนต่อไปคือการย้อมสี ถ้าจะทำให้ผ้าไหมออกมาสวยงามจะต้องใช้สีที่ทำมาจากธรรมชาติ เช่น แก่นขนุนและไม้เขให้สีเหลือง ไม้ฝางและครั่งให้สีแดง ใบหูกวางให้สีเขียว กาบมะพร้าวให้สีเทา ในการผลิตผ้านั้นจะจะมีทั้ง ผ้าอัดและผ้าไม่ทอเช่นการอัดผ้าขนสัตว์ โดยการอัดกันเป็นชั้นๆด้วยเส้นใยชนิดอื่นโดยผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วจึงนำมาทอประโยชน์ของผ้าอัดขนสัตว์คือใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น กางเกง ผ้าอัดด้วยเข็มเป็นผ้าอัดอีกชนิดหนึ่งซึ่งจะคล้ายกับผ้าอัดขนสัตว์เป็นการอัดให้ติดกันโดยใช้เข็มชนิดพิเศษและวิธีการทางเชิงกลแทนการใช้ ความร้อน ความชื้น และแรงกดอย่างผ้าอัดขนสัตว์การทำเส้นใยก็ทำอย่างกับผ้าอัดทั่วไปหรือวิธีการอัดผ้าขนสัตว์จนกระทั้งถึงขั้นได้แผ่นใยสางที่ต้องการ ผ้าอัดเส้นใยด้วยสารช่วยติดการนำเอาเศษใยฝ้ายมาอัดติดกันแล้วนำมาแผ่เป็นแผ่นบางๆทำให้แห้งย้อมสีและเอาไปอบ ผ้าถักนิตเป็นการเป็นการใช้ด้าย1ชุดหรือมากกว่าทำเป็นห่วงเกี่ยวคล้องต่อกันด้วยเข็มถักเป็นต้น ผ้าไทยผูกพันกับวิถีของคนไทยมานาน ทั้งแสดงให้เห็นถึงบทบาทหน้าที่และฐานะของผู้สวมใส่ เช่น ผ้ากับความเชื่อและพิธีกรรม เช่น ในพิธีบวชคนไทยส่วนมากนับถือพุทธมักจะให้บุตรหลานได้บวชเรียนดังนั้นพิธีกรรมในการบวชตั้งแต่การเป็นนาคสมัยก่อนมารดาจะเป็นผู้ทอผ้าขาวให้นาคได้สวมใส่ พิธีแต่งงาน เข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น
ผ้าไหมไทย โดย ปวันรัตน์ อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น